top of page
ค้นหา

กาพย์ฉบัง 16

  • Karischat
  • 11 ส.ค. 2562
  • ยาว 1 นาที

ลักษณะคำประพันธ์        ๑.บท บทหนึ่งมี ๓ วรรค คือ           -วรรคแรก (วรรคสดับ) มี ๖ คำ           -วรรคที่สอง (วรรครับ) มี ๔ คำ           -วรรคที่ ๓ (วรรคส่ง) มี ๖ คำ           รวมทั้งหมด ๑๖ คำ จึงเรียกฉบัง ๑๖

       ๒.สัมผัส           ๒.๑. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค เป็นสัมผัสบังคับ คือ คำสุดท้ายของวรรคแรก(วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง (วรรครับ)           ๒.๒. สัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของวรรคสาม (วรรคส่ง) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) ของบทต่อไป

      ๓.การอ่านกาพย์ฉบัง ๑๖          การอ่านกาพย์ฉบังจะเว้นจังหวะการอ่านทุก ๆ ๒ คำ ดังนี้                O O / O O / O O        O O / O O            O O /  O O / O O

ตัวอย่างกาพย์ฉบับ ๑๖            สัตว์จำพวกหนึ่งสมญา         พหุบาทา       มีเท้าอเนกนับหลาย            เท้าเกินกว่าสี่โดยหมาย        สองพวกภิปราย       สัตว์น้ำสัตว์บกบอกตรง                                                 สัตวาภิธาน (สุนทรภู่)

ข้อสังเกต : คำสุดท้ายของบทห้ามใช้คำตายหรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์ และนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญหรือจัตวา


 
 
 

Comments


©2019 by Karischat. Proudly created with Wix.com

bottom of page